ตลาดไทยขานรับสังคมผู้สูงวัย GoodLiving for Aging Society ครั้งที่ 4ผลตอบรับดีเกินคาดผลตอบรับดีเกินคาด

Life Style & Travel

งาน GoodLiving for Aging Society ครั้งที่ 4 ภายใต้คอนเซ็ปต์“Together Longer” ใช้ชีวิตสุขใจหลังวัยเกษียณ คับคั่งด้วยผู้เข้าร่วมงานที่ครอบคลุมทุกช่วงวัยเปิดผลสำรวจอินไซด์ผู้สูงอายุ เผยเกือบครึ่งเคยซื้อออนไลน์ แต่สินค้าในกลุ่มบริการด้านการเงิน การออกกำลังกาย/อาหารเสริม และการดูแลสุขภาพพื้นฐาน ไม่นิยมซื้อทางออนไลน์และผู้บริโภคอายุระหว่าง 51-60 ปีที่นิยมซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านเว็บไซต์กับแอปพลิเคชันมากกว่า เฟซบุ๊คและไลน์ โดยภายในงานอัดแน่นด้วยสาระดีๆพร้อมแนะเคล็ดลับเพื่อการวางแผนชีวิตสุขใจหลังเกษียณการปรับบ้านให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุเพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตการลงทุนอย่างชาญฉลาดหลังเกษียณ วางแผนการออมเงินเพื่ออนาคตที่มั่นคงทางสุขภาพแนวทางวางแผนการเงินอุ่นใจ บ้านอบอุ่น รับชีวิตเกษียณพร้อมแนวทางการดูแลตัวเองและสานสัมพันธ์คนใกล้ชิด ชี้ธุรกิจ Digital Health น่าจับตา คาดอีก 5 ปี โตก้าวกระโดด 209%

นางสาวภาคนี วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานร่วมงานมหกรรมการเงิน Money Expo เปิดเผยว่า การจัดงาน Good Living for Aging Society ครั้งที่4 ในโซนกิจกรรมภายในงาน Money Expo Year-End 2019ที่จัดเมื่อวันที่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค. 2562 ที่ผ่านมา ณศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Together Longer” ใช้ชีวิตสุขใจหลังวัยเกษียณ ได้รับผลตอบรับจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมากโดยตลอด 4 วันมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคทั้งกลุ่มผู้วางแผนเกษียณอายุ ผู้ที่เกษียณอายุแล้วและกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกับผู้สูงอายุ ตื่นตัวกับการปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ อย่างไรก็ดี ผลสำรวจผู้เข้าร่วมงานในปีนี้ พบว่า เกือบครึ่งนึงของผู้สูงอายุเคยมีการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์โดยกลุ่มอายุ 51-60 ปี ที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์ นิยมซื้อผ่านช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นมากกว่าช่องทางเฟซบุ๊คและไลน์ ในขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุไม่ได้ซื้อสินค้าในหมวดหมู่ บริการด้านการเงินการออกกำลังกาย/อาหารเสริม และการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เนื่องจากต้องการการสอบถามและได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลครบถ้วนน่าเชื่อถือประกอบการตัดสินใจอย่างละเอียด นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงสถิติการใช้แอปพลิเคชั่นของผู้สูงวัยโดยเฉพาะกลุ่มอายุ 51-60 ปี ซึ่งเริ่มก้าวเข้าสู่วัยเกษียณมีไลฟ์สไตล์ชอบท่องเที่ยวนิยมใช้แอปพลิเคชั่นด้านท่องเที่ยวถึง 30% รองลงมาเป็นแอปพลิเคชั่นด้านการถ่ายภาพและวิดีโอถึง22% สูงกว่าการใช้แอปพลิเคชั่นด้านการเงินและโซเชียลมีเดีย สำหรับกลุ่มคนในช่วงอายุนี้ซึ่งยังพบอีกว่ากลุ่มอายุ 51-60 ปี ที่ใช้งานโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊คและไลน์ ให้ความสนใจในการติดตามหมวดหมู่เรื่องการแพทย์และสุขภาพถึง21% ถึงแม้จะน้อยกว่าหมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่ม (25%) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุ41-50 ปี (11%) และ 61-70 ปี  (14%) ก็พบว่าคนกลุ่มอายุ51 ปีขึ้นไป โดดเด่นในเรื่องความสนใจด้านสุขภาพอย่างเห็นได้ชัด อันดับรองลงมาคือ หมวดหมู่ด้านข่าวสารและความบันเทิง

อย่างไรก็สาระประโยชน์ภายในงานครั้งนี้สามารถเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนผ่านของสังคมประเทศไทยที่จะก้าวข้ามจาก Aging Society หรือ “ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” เข้าสู่ AgedSociety หรือ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” ในทุกๆ ด้านอาทิ ด้านบ้านพักอาศัยจำเป็นต้องมีปรับบ้านให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัยนับเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ จากการสัมมนาเรื่อง “Senior Living ปรับบ้านให้คนสูงวัยพึ่งพาตนเองได้” โดยรองศาสตราจารย์ ไตรรัตน์จารุทัศน์ จากภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสถาปัตยกรรมกับผู้สูงอายุได้แนะปรับโครงสร้างบ้านที่ออกแบบให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัยป้องกันการหกล้มในแต่ละโซนในบ้าน แบ่งเป็น 3 โซนที่สำคัญคือ 1. ห้องน้ำ ส่วนที่เกิดการหกล้มมากที่สุดควรมีราวจับพยุงในจุดชักโครกและอ่างล้างหน้า มีเก้าอี้นั่งอาบน้ำ ฝักบัวต้องไม่สูงเกินไปมีหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ควรต้องมีสัญญาณฉุกเฉินไว้ใช้ขอช่วยเหลือ 2. บันไดภายในบ้าน ควรเป็นทางราบ มีความสูงขั้นบันไดไม่เกิน 15 ซม. และมีราวจับ 3. ห้องนอน ความสูงของเตียงจากพื้นควรสูงประมาณ 45 ซม. เมื่อลุกจากเตียงควรมีราวจับเพื่อพยุงตัว

ด้านการลงทุนอย่างฉลาดเป็นอีกตัวช่วยให้ผู้สูงอายุวางแผนจัดการเงินในวัยเกษียณการสัมมนาพิเศษหัวข้อ”ลงทุนสุขภาพ รับเทรนด์ DigitalHealth” นับเป็นการลงทุนที่มีมูลค่าและน่าจับตาโดย นพ.มนต์สรร อัศวนพเกียรติ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบประกันและการพัฒนาผลิตภัณฑ์โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้มุมมองว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันที่มีนวัตกรรมการพัฒนายาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรคร้ายต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดในช่วง 10 – 20 ปี นายคมสันผลานุสนธิ กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาดและผลิตภัณฑ์ บลจ.แอสเซทพลัส จำกัด ชี้จุดว่าการลงทุนธุรกิจเฮลธ์แคร์รับเทรนด์ DigitalHealth กำลังได้รับความสนใจทั่วโลก เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนาอุสาหกรรมเฮลธ์แคร์ทำให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ ส่งผลให้หุ้นกลุ่มดังกล่าว หรือกองทุนระยะยาวมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน กลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค ซึ่งเป็นอนาคตใหม่แห่งวงการสุขภาพ ในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา ยอดขายยาที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีชีวภาพ เติบโตเพิ่มขึ้น 85%และคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าการพัฒนาจะช่วยเพิ่มการเติบโตสูงถึง 209%  นายราชันย์ ตันติจินดา CFP นักวางแผนการเงิน ยังได้แนะการเลือกออมเพื่ออนาคตที่มั่นคงทางสุขภาพเพราะจากสถิติกลุ่มผู้ที่มีอัตราเข้าโรงพยาบาล และอัตราค่าใช้จ่ายต่อปีค่อนข้างสูงเช่น กลุ่มคนอายุ 61– 70 ปีจากสถิติเข้าโรงพยาบาล 8-10 ครั้งต่อปีโดยคิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 10,000 – 16,000 บาทต่อปี จึงควรเลือกลงทุนเพื่ออนาคตที่รองรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งมีหลากหลายประเภท เช่น ประกันบำนาญ ที่ไม่ต้องรอเกษียณก็สามารถทำได้หุ้นกู้เอกชน หรือตราสารหนี้เอกชน  ด้านการมองหาที่อยู่อาศัยและการออมเงินสำหรับใช้จ่ายเมื่อเข้าวัยเกษียณหัวข้อพิเศษ “การเงินอุ่นใจ บ้านอบอุ่น รับชีวิตเกษียณ”

นางสาวศศิวิมล สิงหเนตร HappyDirector MEESUK SOCIETY กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกสถานที่ให้ผู้สูงอายุหรือบ้านพักคนชราในประเทศไทย บ้านพักคนชราถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.องค์กรการกุศล 2.บ้านพักสามารถซื้อขายเป็นกรรมสิทธิ์และเป็นมรดกได้ 3.เนิร์สซิ่งโฮมมีบริการดูแลผู้สูงอายุ แต่ไม่ได้เป็นที่รักษาผู้ป่วยสูงอายุ นายราชันย์ตันติจินดา CFP นักวางแผนการเงิน แนะวางแผนทางการเงินรองรับชีวิตเกษียณ ควรแบ่งเงินออกเป็นก้อนก้อนแรกอยู่ในรูปแบบการออมทรัพย์หรือฝากประจำ เพื่อรับดอกเบี้ยสูงขึ้น ก้อนสองเพื่อลงทุนหรือเพิ่มมูลค่าให้เงินออมเช่นกองหุ้น หุ้น ตราสารหนี้ การลงทุนที่ดีที่สุดต้องศึกษาด้วยตัวเอง ปัจจุบันมีหลายวิธี เช่น ศึกษาจากแพลตฟอร์มออนไลน์  ด้านการดูแลสุขภาพและการสานสัมพันธ์ผ่านหัวข้อ”ชีวิตไม่มีแก่ ดูแลถูกวิธีสร้างสัมพันธ์คนใกล้ชิด” โดย ผศ.ดร.กภ.ภครตี ชัยวัฒน์รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าผู้รับการทำกายภาพบำบัดสามารถแบ่งออกเป็น 2กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยออกกำลังกายที่ต้องการฟื้นฟู และกลุ่มผู้ป่วย โดยสามารถแก้ไขหรือสร้างพฤติกรรมซึ่งเป็นปัญหาที่เรียกว่า “เป็นต้นทุนให้กับสุขภาพร่างกายในอนาคต”  ด้วยการสังเกตความผิดปกติของร่างกาย ดูแลตัวเองด้วยวิธีการออกกำลังกายพักผ่อนให้เพียงพอ ส่วนผู้ดูแลที่ต้องเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุควรหาข้อมูลการดูแลที่ถูกต้อง  นางสาวภาคนี กล่าวทิ้งท้ายว่า ในงานGood Living for Aging Society ครั้งที่ 5 ครั้งต่อไปในงาน MoneyExpo 2020  จะมีการต่อยอดสาระดีมีประโยชน์แก่ผู้เข้าร่วมงานและสำหรับงานนี้ใครพลาดไปสามารถติดตามข้อมูลเทคนิคต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ เพิ่มเติม รวมถึงข่าวสารการจัดงาน Good Living for AgingSociety ครั้งที่ 5 ในครั้งต่อไป ได้ที่เฟซบุ๊คแฟนเพจ@GoodAgingSociety