ซีพีแรม ชู Plant-Based Diet และFunctional Food เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารไทย พร้อมเปิดตัว “โอแรมปัง” รับดีมานด์การเติบโตของตลาดเบเกอรี่

Marketing


บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารพร้อมรับประทานของไทย โดยมีผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคยและพบได้ในร้านค้าปลีกสมัยใหม่ หรือร้านสะดวกซื้อ อาทิ ข้าวกล่อง ข้าวปั้น โอนิกิริ ซาลาเปา ขนมจีบ และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ตราเลอแปง เพื่อตอบรับการขยายตัวของตลาดเบเกอรี่ในประเทศไทย ที่ปัจจุบันลูกค้านิยมบริโภคเบเกอรี่มากขึ้น เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย สะดวกสบาย สามารถรับประทานเป็นอาหารมื้อหลัก และมื้อรองได้  ล่าสุดเปิดตัวแบรนด์ใหม่ “โอแรมปัง” (ORAMPANG) เบเกอรี่อบสดพร้อมรับประทาน พร้อมยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารของไทยด้วย Plant-Based Diet และFunctional Food  ภายในงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 ภายใต้คอนเซ็ปต์ Re-imagine the Future of Food and Beverage Industry งานแสดงสินค้าอาหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งเอเชีย เป็นเวทีการค้าระดับโลกที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศต่างๆ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 23 – 27 พฤษภาคม 2566ณ บูธซีพีแรม (P-01) อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

นายวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด (Mr. Wisade Wisidwinyoo President of CPRAM Company Limited) กล่าวว่า ตลาดเบเกอรี่ ปี 2566 มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์เศรษฐกิจฟื้นตัว รวมถึงผู้บริโภคมีความมั่นใจในการกลับมาใช้ชีวิตปกติ ซึ่งสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในปัจจุบันที่หันมาทานเบเกอรี่เพราะเน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว และอิ่มท้องมากขึ้น ปัจจุบันมูลค่าตลาดเบเกอรี่ในประเทศไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 38,000 ล้านบาท ซึ่งตลาดเบเกอรี่เป็นตลาดที่ใหญ่ทำให้  ซีพีแรมเห็นโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มเบเกอรี่ จึงได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่เสริมความแกร่งของกลุ่มสินค้าเบเกอรี่ ซีพีแรม ภายใต้ตราสินค้า “โอแรมปัง” (ORAMPANG) โอทุกคำ อิ่มอร่อย เต็มปัง เบเกอรี่อบสดพร้อมรับประทานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค กับแนวคิด “เบเกอรี่ที่เติมเต็มความสุข เพิ่มความสดใสและเติมพลังสำหรับทุกคนในครอบครัว” ใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิตด้วยคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ เพื่อส่งมอบสินค้าที่สดใหม่ นุ่ม อร่อยให้กับผู้บริโภค รองรับความนิยมของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนยกระดับเบเกอรี่ให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์สำหรับกลุ่มลูกค้าครอบครัว โดยตั้งเป้ายอดขายภายใน 3 ปี อยู่ที่ 500 ล้านบาท

สำหรับการร่วมออกบูธของ ซีพีแรม ภายในงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 พร้อม ชูแนวคิด “Plant-Based Diet และ Functional Food เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมอาหารไทย ประกอบด้วย การแสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมอาหาร การจัดแสดงผลงานวิจัยด้านอาหาร หรือ Biotech โดยศูนย์วิจัยและบริการทดสอบ บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด พร้อมทั้งจัดแสดงอาหารแห่งอนาคต ภายใต้ตราสินค้า “ VG for Love ” การถอดบทเรียนศูนย์วิชาการเกษตร “เกษตรกรคู่ชีวิต” และเมตาเวิร์สซีพีแรม (CPRAM on Metaverse) ให้คนได้เข้าไปท่องโลกซีพีแรม ซึ่งมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันและสิ่งที่วางไว้ในอนาคต รวมถึงการสร้างสรรค์เมนูอาหารสุดพิเศษ โดยเชฟฝีมือดี พร้อมจัดแสดงสินค้าอาหารพร้อมรับประทานในกลุ่มบริษัท ซีพีแรม จำกัด อาทิ เลอแปง , เจด ดราก้อน, วีจีฟอร์เลิฟ , เดลี่ไทย, เดลิกาเซีย , โอแรมปัง และเลอเชอรีน เป็นต้น จำหน่ายผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ กว่า 20,000 แห่ง รวมถึงส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ซีพีแรม ยังคงพัฒนากลุ่มสินค้า Plant-Based Diet อย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มที่สังคมไทยและทั่วโลกมีการบริโภคอาหารที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลในห่วงโซ่อาหารเพื่อก่อให้เกิด

ความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมอาหารไทย ซึ่งสินค้า “VG for Love หรือ วีจีฟอร์เลิฟ” ถือว่าเป็นอาหารพร้อมรับประทานสำหรับผู้บริโภคที่มีการบริโภคพืชเป็นหลัก “Plant-Based Diet” ครบ 5 ประเภทรายแรกของไทย ซึ่งมีไลฟ์สไตล์สอดคล้องทั้ง 4 ความรัก คือ  รักสุขภาพ รักชีวิตสัตว์  รักสิ่งแวดล้อม และรักโลก แบ่งประเภทอาหารเป็น 5 ประเภท ได้แก่ หมายเลข 1 อาหารเจ, หมายเลข 2 อาหารวีแกน, หมายเลข 3 อาหารมังสวิรัติกับนม, หมายเลข 4 อาหารมังสวิรัติกับไข่ และหมายเลข 5 อาหารมังสวิรัติกับนมและไข่ ซึ่งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ “สีฟ้า” ปิดผนึกเพื่อคงสภาพความสด ใหม่ สะอาด และความปลอดภัยทางอาหารสูงสุด โดยบรรจุภัณฑ์ “สีฟ้า”ได้รับการออกแบบจากแนวคิด “The Blue Planet” คือ โลกเราเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในสุริยจักรวาล ที่เป็นสีฟ้า เวลามองดูจากนอกโลก

นอกจากนี้ ซีพีแรม เตรียมรับกระแส “เมกะเทรนด์” ที่เป็นอนาคตของโลก คือ เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาหารและสุขภาพโดยตรง โดยได้นำเทคโนโลยีชีวภาพดังกล่าวมาพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อคนเฉพาะกลุ่ม เป็นการตอบโจทย์ความต้องการด้านโภชนาการที่แตกต่างกัน นำไปสู่การผลิตอาหารที่จำเพาะเจาะจงกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมากขึ้นเรียกว่า “Functional Food” เพราะมนุษย์ไม่ได้มีความต้องการโภชนาการชนิดเดียวกันทุกๆ คน ควรจะมีอาหารสำหรับคนวัยเด็กว่าต้องการโภชนาการแบบใด คนที่ต้องใช้พลังงานมากในวัยทำงานต้องการโภชนาการแบบใด คนที่สูงวัยต้องการโภชนาการแบบใด ซึ่งจะต้องพัฒนาไปยังจุดนั้นโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาพัฒนาอาหารสุขภาพและอาหารสำหรับบุคคลเฉพาะกลุ่ม

ซีพีแรม ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาสู่ความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ(UNSDG) และเครือเจริญโภคภัณฑ์ในทุกด้าน ตัวอย่างโครงการที่โดดเด่น เช่น โครงการเกษตรกรคู่ชีวิต เป็นโครงการที่ให้ความสำคัญของเกษตรกรเสมือนคู่ชีวิต และดำเนินการตามแนวทาง Food3S โดยซีพีแรมได้แนะนำและส่งเสริมการปลูก สู่เกษตรกรคู่ชีวิต พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและการเก็บเกี่ยวกะเพราให้ได้ผลดี มีผลผลิตต่อไร่สูง เมื่อผลผลิตออกแล้ว รับซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดทั่วไป ซีพีแรม ยังได้ขยายผลไปสู่เกษตรกรพืชผักชนิดอื่นๆ เช่น ผักคะน้า เป็นต้น และ โครงการเรียนฟรีมีรายได้ (ปัญญาภิวัฒน์ – ซีพีแรม)  เป็นโครงการที่ซีพีแรมได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับเยาวชน จึงได้จัดตั้งศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์-ซีพีแรม โดยจัดการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาพาณิชยกรรมและประเภทวิชาอุตสาหกรรม ใช้หลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และจัดการศึกษาในระบบ “ทวิภาคี” เรียนรู้ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติควบคู่กันไป มุ่งเน้นการใช้ประสบการณ์ตรง สนองตอบความต้องการของสถานประกอบการเป็นสำคัญ ทั้งนี้ซีพีแรม จัดตั้งคณะการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร เป็นส่วนหนึ่งในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ด้วยเล็งเห็นว่าการจัดการองค์ความรู้ หรือ KM ที่ซีพีแรมสะสมมากว่า35 ปี และมีความเป็นเลิศ เหมาะสมที่จะนำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรการศึกษาให้กับสังคมในระดับอุดมศึกษา ซึ่งต่อยอดจากศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ซีพีแรม เราไม่เพียงแต่สอนให้นักศึกษารู้และเข้าใจกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารเท่านั้น เรายังสอน TQM , TPM และLEAN ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจริงในโรงงานอุตสาหกรรมมาตรฐานโลก เราเชื่อมั่นทุกวิชาตลอดหลักสูตรจะถูกนำไปใช้ได้จริงเมื่อเรียนจบ บัณฑิตที่จบจากคณะการจัดการอุตสาหกรรมอาหารนี้จะนักปฏิบัติ นักจัดการ สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพตั้งแต่วันแรกที่เรียนจบการศึกษา